ช่วงท้ายปี 2007 ประมาณ 3-4 เดือน ตลาดหุ้นทั่วโลกช็อกจากวิกฤติซับไพรม์ (Sub-Prime)ของสหรัฐฯ กระทั่งรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังต้องตัดสินใจประกาศเทกโอเวอร์ สถาบันสินเชื่อ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค ที่มีตัวเลขผลขาดทุนมหาศาล จากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์แตกลง ทั้ง 2 สถาบันได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์กิจการโดยรัฐบาลกลางเพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างเร่งด่วน เพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
ข่าวร้ายนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ทำให้มีการลดกำลังการผลิต และลอยแพคนงาน ทั้งในภาคการเงินและอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าโลกถดถอย และกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ และการลงทุนของสหรัฐฯ ในประเทศต่างๆ ด้วย สำหรับชาติยุโรปได้รับผลกระทบจากยักษ์ป่วยสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งยังมองไม่เห็นว่าชาติเหล่านั้น ยกเว้นเยอรมนีและยุโรปเหนือบางประเทศ จะออกจากวิกฤติอย่างไร เพื่อตอบโจทย์วิกฤติการเงินโลกที่โหดร้ายนี้ และแสวงหาทางออกจากวิกฤตินี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้จัดเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ "ไทยจะรับมืออย่างไร ในภาวะเศรษฐกิจขาลงของยุโรป-อเมริกา?" เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 โดยได้รับเกียรติจากนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.), นายสมพร จิตเป็นธม รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.), นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และนายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ จำกัด
ที่มา : http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=81275:2011-08-29-01-54-27&catid=94:2009-02-08-11-26-28&Itemid=417
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น